Open The Sky - Reflective and creative work by Ajahn Kalyano
  • Home
  • Artwork
    • Introduction
    • Art
    • Dhamma postcards
  • Contemplative photography
  • Video
  • Poetry & prose
  • Articles
  • Dhamma books
  • Talks
  • Latest
  • Contemplative photography
  • Other languages
    • Thai
    • Norsk
    • Italian (Link)

Same System, Different Master: ระบบเดียวกัน ต่างต้นแบบ

24/3/2019

 

"It's the way we see things that forms our thoughts and emotions":  วิธีการมองสิ่งต่างๆ เป็นต้นแบบของอารมณ์และความคิดของเรา

เมื่อเราเริ่มปฏิบัติภาวนา และเรียนรู้ที่จะเข้ามาดูความคิดและอารมณ์ของตัวเอง บางครั้งเราก็เห็นดีด้วยกับการคิด บางครั้งเราก็ต่อต้าน คือถ้าเรามองว่าความคิดเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ เราจะเห็นว่าควรคิด  แต่ถ้าเราเชื่อว่าจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติภาวนา คือการไม่คิด เราก็จะต่อต้านมัน หรือไม่อยากคิดเอาเสียเลย

ในทำนองเดียวกันกับอารมณ์ของเรา เราจะมองว่ามันเป็นแหล่งที่มาของภูมิปัญญา หรือที่มาของความทุกข์ก็ได้ ดังนั้นเราอาจจะอยากเรียนรู้จากมันหรือหนีห่างจากมันก็ได้เช่นกัน
 
จะเห็นได้ว่า ใจเราเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และตลอดเวลาเมื่อดูจากความคิดและอารมณ์ของเรา บางครั้งก็ต่อต้าน บางครั้งก็อยากที่จะคิดและอยู่กับอารมณ์นั้นๆ ซึ่งอาจทําให้เกิดความสับสน เพราะแม้แต่อาจารย์ที่สอนเรา บางท่านก็ดูเหมือนจะชอบให้คิดหรืออยู่กับอารมณ์ บางท่านก็ต่อต้านมัน

พระพุทธเจ้าสอนว่าความคิดและอารมณ์ก็เป็นแค่กระบวนตอบสนองต่อสิ่งเร้าเท่านั้น เพราะมันถูกขับเคลื่อนด้วยอกุศลจิต คือโลภะ โทสะและโมหะ หรือ กุศลจิตที่ไม่มีความโลภ โกรธ หลง มาเกี่ยวข้อง แต่ก็ยังมีความคิดและอารมณ์เกิดขึ้นได้ ถึงแม้บางครั้งมันอาจจะแตกต่างไปจากความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในตอนแรกๆ แต่ก็เป็นกระบวนการเดียวกัน ซึ่งอาจเรียกอย่างเปรียบเทียบได้ว่าเป็น "ระบบเดียวกัน ต่างต้นแบบ" ก็ได้

อาจมีบางครั้งที่ใจเรามีปัญญา ทำให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์ แต่ในบางครั้งที่ใจเรามืดบอดก็ทำให้เกิดอารมณ์ที่ไม่ค่อยฉลาดนัก ทำนองเดียวกันกับความคิด ถ้าใจเรามีปัญญา ความคิดดีๆก็ตามมา ถ้าเบาปัญญา ความคิดก็อาจเป็นไปในทางที่ไม่ดีนัก เหล่านี้เป็นกระบวนการที่เป็นสัจธรรม แต่เรามักมองไม่เห็น หรือมองข้ามไป ทั้งๆที่มันเกิดขึ้นก่อนสิ่งอื่นใดทั้งมวล

วิธีการมองสิ่งต่างๆเป็นต้นแบบของอารมณ์และความคิดของเรา ซึ่งเป็นจริงจากชั่วขณะหนึ่งไปอีกขณะหนึ่ง ถ้าเราเข้าถึงกระบวนการที่เป็นสัจธรรมนี้ เข้าใจการทำงานของจิต และตระหนักถึงการมองสิ่งต่างๆ ทุกอย่างก็จะชัดเจนขึ้น เช่น วันนี้เรามองแบบนี้ เพราะอารมณ์และความคิดของเรานำไป ดังนั้นมันสามารถชักนำเราไปในทางตรงกันข้ามได้เช่นกัน

ทั้งหมดนี้เป็นเหตุและผล เป็นวงโคจรที่เราเวียนว่ายอยู่ เป็นโซ่แห่งวัฏสงสาร ซึ่งผูกอยู่กับโลภะ โทสะ และโมหะ  โซ่นี้อาจจะเป็นโซ่แห่งการหลุดพ้นได้เช่นกัน ถ้าเราสละได้ซึ่งความโลภ โกรธ หลง

เราจึงไม่คาดหวังว่าปรมาจารย์ทั้งหลายจะหยุดคิดหรือไม่มีความคิดเสียเลย  แต่ใจเขาจะปลอดจากความคิดที่เกิดจากแรงขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติ  ถึงแม้เขาจะมีความคิดและความรู้สึกอยู่ แต่มันเกิดจากเหตุผลที่ต่างออกไป ขึ้นอยู่กับพื้นฐานธรรมของแต่ละคน

และสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม เมื่อเวลาผ่านไป เราจะตระหนักว่า มีบางสิ่งบางอย่างที่ยิ่งใหญ่กว่าความคิดและอารมณ์ มันเป็นสิ่งที่บรรจุทั้งสองสิ่งนี้ไว้ด้วยกัน ซึ่งใหญ่กว่าและถาวรกว่า เราเริ่มเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ มันเกิดขึ้นและดับไป ในกรอบที่กว้างขึ้น

เมื่อเราเริ่มเข้าถึงกรอบที่ว่านี้ เราจะมองเห็นความโลภหรือความไม่โลภในใจ เราสามารถมองเห็นจิตที่แท้จริงได้ ซึ่งถ้าทำได้ เราจะเรียนรู้อย่างแจ่มชัดได้ด้วยตัวเองว่า มีความโลภอยู่ในใจหรือไม่ มีปัญญาเกิดขึ้นในใจหรือไม่ โดยการมองเห็นจิตอย่างที่มันเป็น
 
สภาวะที่บริสุทธิ์ ที่ปราศจากความโลภ โกรธ หลง ต่างจากสภาวะของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้นอยู่ ซึ่งเราต้องมองให้เห็นได้ด้วยตนเองว่า ผู้ที่ยังเกี่ยวข้องกับความโลภ โกรธ หลง คือผู้ที่ยังอยู่ในสภาวะที่ยึดตัวยึดตน หรือ"สภาวะปิด" ขณะที่ผู้ละจากสิ่งเหล่านั้นได้ อยู่ใน"สภาวะเปิด"  จิตที่อยู่ในสภาวะปิดก็เหมือนกับจิตที่ยึดตัวตน ดิ้นรน มืดมน ลึกลับ สับสน เหมือนมีพลังอันน่ากลัวแฝงอยู่ โดยที่เราไม่แน่ใจว่ามันกำลังจะทำอะไร ไปในทิศทางใด หรือกำลังเกิดอะไรขึ้น เปรียบเสมือนการไม่มีสตินั่นเอง

สภาวะของจิตที่บริสุทธิ์ มักจะชัดเจนและเปิดกว้าง มีสติและความสงบควบคู่กัน ถ้าจิตไม่อยู่กับปัจจุบัน ความสงบจะไม่เกิดขึ้น เพราะแรงกระตุ้นด้านลบจะคอยคืบคลานเข้ามาในใจโดยไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้น มันอาจจะเป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควร ยึดถือว่า ทุกอารมณ์ดีหรือไม่ดี หรือ ยึดถือว่าทุกความคิดดีหรือไม่ดี เพราะเป็นการสรุปที่ง่ายเกินไป บางครั้งเราพยายามกำจัดความรู้สึกและความคิดที่เราไม่ชอบด้วยการบอกตัวเองว่ามันเป็นเรื่องไร้สาระ ซึ่งเป็นการพูดแบบตัดสินโดยไม่เห็นใจตัวเอง หรือไม่มีความอดทนมากพอ

ในทางกลับกัน คือการเชิดชูว่าอารมณ์เป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่ง แม้จะเป็นการมองที่เป็นบวก ก็ไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะใจเราไม่ได้บริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา ถ้าเราใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง มีศีลธรรม และฝึกสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ใจเราก็จะบริสุทธิ์มากขึ้นเรื่อยๆ และนั่นคือศรัทธาที่เราเชื่อมั่นได้ ในฐานะผู้ปฏิบัติ

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เราควรจะเฝ้ามอง ไม่ใช่เพื่อตัดสินว่าถูกหรือผิด แต่เพื่อดูว่าใช่ หรือไม่ใช่หนทางที่จะนำเราไปสู่ความสุข หรือเป็นหนทางที่นำไปสู่ความทุกข์




​

อาตมาขอเสนอธรรมะนี้เพื่อการเรียนรู้และพิจารณา

อาจารย์กัลยาโณ
​

​
ติดตามคำสอนเพิ่มเติมที่แปลเป็นไทยแล้วได้ที่นี่:

www.openthesky.co.uk/thai


​

Comments are closed.

    พระอาจารย์กัลยาโณ
    พระเถระในสายหลวงพ่อชา สุภัทโท และเป็นเจ้าอาวาสของวัด
    โลกุตตรวิหาร ในประเทศนอร์เวย์​ ก่อนบรรพชา ท่านเป็นชาวพุทธที่ฝึกปฎิบัติ
    ตั้งแต่อายุ 17 ปี  เส้นทาง
    การปฎิบัติและความสนใจของท่าน ได้นำท่านให้ทำงานในโรงพยาบาลมาเกือบยี่สิบปี


    Categories

    All
    จาก"สายธารแห่งธรรม"
    วีดีโอ
    บทความ "ช่วงเวลาวิกฤต"
    งานศิลปะ
    ธรรมปรารภ
    ชีวิตส่วนตัว
    โพสการ์ดธรรมะ

Powered by Create your own unique website with customizable templates.
  • Home
  • Artwork
    • Introduction
    • Art
    • Dhamma postcards
  • Contemplative photography
  • Video
  • Poetry & prose
  • Articles
  • Dhamma books
  • Talks
  • Latest
  • Contemplative photography
  • Other languages
    • Thai
    • Norsk
    • Italian (Link)