Open The Sky - Reflective and creative work by Ajahn Kalyano
  • Home
  • Artwork
  • Poetry & prose
  • Contemplative photography
  • Video
  • Articles
  • Dhamma books
  • Talks
  • Library
  • Other languages
    • บทความภาษาไทย
    • Norsk
    • Italian (Link)

A Buddhist attitude : ทัศนคติแห่งพุทธ

28/9/2018

 
“ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด แล้วอะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด” อาตมาอยากจะพูดถึงทัศนคติของชาวพุทธที่มีต่อการใช้ชีวิตสัก 2-3 ข้อ เป็นทัศนคติที่เป็นอุบายแห่งชีวิต

ทัศนคติที่ดีที่สุดที่อาตมาเคยเห็น เป็นตัวหนังสือที่แขวนรออาตมาอยู่นิ่งๆ บนต้นไม้ในวัดที่ประเทศไทย เขียนเอาไว้ว่า “ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด”

ตัวหนังสือประโยคนี้ถ่ายทอดใจความคำสอนของพระพุทธเจ้าที่บอกให้เราทำทุกอย่างให้ดีที่สุด ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตตามอุบาย ค้นหาความสุขของตน ความสุขของผู้อื่น ด้วยหนทางแห่งปัญญา แต่ขณะเดียวกันก็จงยอมรับให้ได้ว่า อะไรจะเกิด ก็ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เราต้องยอมรับความเป็นจริงที่ว่า เราไม่สามารถควบคุมทุกสิ่งในชีวิตได้ โลกนั้นใหญ่กว่าตัวเราเอง มีอะไรอีกหลายอย่างที่เราควบคุมไม่ได้ ที่เราทำได้ คือ ทำทุกอย่างให้ดีที่สุด เจตนาที่ดีจะทำให้เราพบกับผลลัพธ์ที่ดีในความคิดและในใจของเราเอง

การผนวกสองสิ่งเข้าด้วยกัน คือ การทำให้ดีที่สุด และการยอมรับว่า อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เป็นสิ่งที่ต้องฝึกเป็นขั้นตอนแรกในการเจริญสมาธิ อุบายนี้อาจเกิดขึ้นขณะที่เรากำลังพยายามอย่างที่สุดที่จะกำหนดจิตของเราให้มีสมาธิกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การพิจารณาลมหายใจเข้าออก เป็นต้น เมื่อจิตของเราไม่อยู่นิ่ง เราก็ต้องใช้ความอดทนในการดึงให้จิตกลับมาที่สมาธิอีกครั้ง การจะทำเช่นนี้ได้ต้องอาศัยความพยายามและการยอมรับให้ได้ว่าอะไรจะเกิดก็ย่อมต้องเกิด เพื่อจิตที่กำลังเตลิดอยู่นั้นจะไม่เป็นทุกข์ยิ่งไปกว่าเดิม เวลาที่จิตเราเตลิดไปนั้น เราต้องไม่คิดโทษตัวเอง เราต้องอดทนและค่อยๆ เริ่มต้นทำสมาธิใหม่อีกครั้ง ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องมีในการนำเอาแนวคิดทั้งสองสิ่งนี้มาผนวกกันเป็นทัศนคติที่รู้แจ้งของเราเอง

ถ้าเรามีความอดทนในการพยายามให้ถึงที่สุด ก็จะทำให้เราตั้งมั่นอยู่ในปัจจุบันขณะ เมื่อเราไม่รีบร้อน เราก็จะยังอยู่กับปัจจุบันได้ สิ่งนี้เองที่จะช่วยฝึกให้จิตของเรามีสติ และอ่อนโยนลง จนยอมรับได้ว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด สำหรับจิตที่ไม่เคยฝึกฝนมาก่อน อาจต้องใช้เวลาสักหน่อย สิ่งที่อาจเกิดขึ้นก็คือ เมื่อเราพยายามจนถึงที่สุดแล้ว แต่เกิดความผิดพลาด ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง เราอาจหงุดหงิด เบื่อหน่าย และแล้วในที่สุดเราก็อาจจะยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ท้ายที่สุดแล้ว เราอาจจะนั่งเจริญสมาธิจนสามารถยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว นั่นคือ การไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ทุกอย่างไม่เป็นไปอย่างที่ตั้งใจไว้ แต่ถ้าเราเจริญสมาธิตามวิถีที่ถูกต้อง วิถีแห่งปัญญา เราก็จะสามารถละทิ้งความคาดหวังไปได้ เราจะค่อยๆ ปล่อยวางแต่ขณะเดียวกันก็ยังคงพยายามต่อไป

ทุกวันนี้หลายคนอาจสับสนกับคำสอน บ้างก็มุ่งเน้นให้มีความพยายาม บ้างก็ว่าความพยายามไม่ใช่สิ่งจำเป็นหรือแม้แต่อาจส่งผลในทางตรงข้าม หรือว่าจิตมนุษย์นั้นบริสุทธิ์อยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องพยายามอีก ที่คิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ความพยายามก็มักจะเป็นเพราะคนเหล่านั้นคิดว่าเราอาจใช้ความพยายามโดยปราศจากปัญญา ไม่ใช่ว่าไม่จำเป็นต้องพยายาม เราจำเป็นต้องใช้ความพยายาม แต่ความพยายามนั้นต้องประกอบไปด้วยปัญญา จึงจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีได้

ยังมีที่ให้จิตของเราได้ไปสำรวจอีกมากมาย เป็นที่ที่น่ารื่นรมย์กว่าที่จิตดำรงอยู่ในขณะนี้และเป็นที่ที่คุ้มค่ากับการนำพาจิตให้เดินทางไป เรานำพาจิตของเราได้โดยอาศัยความพยายามและการปล่อยวางในเวลาเดียวกัน สองสิ่งนี้จะไม่ขัดแย้งกันและจะทำงานสอดผสานกันถ้าเรามีความอดทน เมื่อมีความอดทนความพยายามของเราก็จะไม่ไปรบกวนหรือทำให้จิตฟุ้งซ่าน

นี่คือสิ่งที่อาตมาเรียกว่าทัศนคติโดยรวมแห่งพุทธที่มีต่อการใช้ชีวิต เป็นทัศนคติง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก เห็นได้จากตัวอย่างในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา อย่างเช่น ประเทศไทย ที่คนโดยมากหมั่นทำความดี แต่พวกเขาก็ใช้ชีวิตอย่างง่ายๆ การทำความดีไม่จำเป็นต้องจริงจังหรือเสียสละตนเองเสมอไป การทำความดีไม่จำเป็นต้องคิดอะไรมาก การใช้ชีวิตไม่จำเป็นต้องคิดอะไรมาก ไม่ต้องไปควบคุมกะเกณฑ์อะไร

วัฒนธรรมของชาวพุทธยังยอมรับความคิดหรืออาจจะเป็นความจริงที่ว่า ความสุขบางประเภทอยู่เหนือกว่าความสุขทางประสาทสัมผัส ความเป็นไปทุกอย่างในโลกไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่ความสุขสูงสุดในชีวิต เราใช้ชีวิตกับความเป็นไปต่างๆ บนโลก แต่เราไม่ได้แสวงหาวิธีเติมเต็มตัวเราเอง เราทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อให้ชีวิตได้ดำเนินต่อไป เพื่อช่วยให้ผู้อื่นได้ดำเนินชีวิตต่อไป แต่ความสุขสูงสุดของเราอยู่ที่อื่น เป็นความสุขทางจิตที่ให้ค่าความสำคัญกับสิ่งต่างๆ แตกต่างออกไป ความพยายามที่เกิดจากปัญญาในการทำทุกอย่างให้ดีที่สุดไม่ได้หมายถึง การหาเงินให้ได้มากที่สุด หรือการไปสังสรรค์ตามงานปาร์ตี้ให้ได้มากที่สุด แต่อยู่ที่การบ่มเพาะความสุขที่เกิดจากปัญญา ซึ่งเป็นความสุขที่ยั่งยืนอย่างแท้จริ






อาตมาขอเสนอธรรมะนี้เพื่อการเรียนรู้และพิจารณา

อาจารย์กัลยาโณ
​

​
ติดตามคำสอนเพิ่มเติมที่แปลเป็นไทยแล้วได้ที่นี่:

www.openthesky.co.uk/thai





Comments are closed.

    พระอาจารย์กัลยาโณ
    พระเถระในสายหลวงพ่อชา สุภัทโท และเป็นเจ้าอาวาสของวัด
    โลกุตตรวิหาร ในประเทศนอร์เวย์​ ก่อนบรรพชา ท่านเป็นชาวพุทธที่ฝึกปฎิบัติ
    ตั้งแต่อายุ 17 ปี  เส้นทาง
    การปฎิบัติและความสนใจของท่าน ได้นำท่านให้ทำงานในโรงพยาบาลมาเกือบยี่สิบปี


    Categories

    All
    จาก"สายธารแห่งธรรม"
    วีดีโอ
    บทความ "ช่วงเวลาวิกฤต"
    งานศิลปะ
    ธรรมปรารภ
    ธรรมปรารภ
    ชีวิตส่วนตัว
    โพสการ์ดธรรมะ

Powered by Create your own unique website with customizable templates.
  • Home
  • Artwork
  • Poetry & prose
  • Contemplative photography
  • Video
  • Articles
  • Dhamma books
  • Talks
  • Library
  • Other languages
    • บทความภาษาไทย
    • Norsk
    • Italian (Link)