Open The Sky - Reflective and creative work by Ajahn Kalyano
  • Home
  • Artwork
  • Poetry & prose
  • Contemplative photography
  • Video
  • Articles
  • Dhamma books
  • Talks
  • Library
  • Other languages
    • บทความภาษาไทย
    • Norsk
    • Italian (Link)

Deep and Broad Practice : การปฏิบัติแนวลึกและแนวกว้าง

17/11/2018

 

“พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะให้เรามุ่งฝึกความเข้มแข็งเป็นหลัก”
​

Picture

คืนนี้อาตมาจะขอพูดถึงแนวคิดที่ว่า การปฏิบัตินั้นทำได้ในสองมิติ คือ มิติในแนวลึก และมิติในแนวกว้าง ตลอดเวลาที่ได้ปฏิบัติมา พวกเราคงเคยอยากลองหรือเคยปฏิบัติสำเร็จในมิติใดมิติหนึ่งในสองมิติ ไม่ว่าจะเป็นแนวกว้างหรือแนวลึกนี้มาบ้าง พวกเราเองคงเคยทุ่มเทปฏิบัติในมิติใดมิติหนึ่งนี้จนสำเร็จ ขณะเดียวกันบางสถานการณ์ก็อาจเหมาะกับการเลือกปฏิบัติในมิติหนึ่งในสองมิตินี้ หรือบางคนก็อาจปฏิบัติในมิติหนึ่งได้ดีกว่าอีกมิติหนึ่ง อย่างไรก็ดี อาตมาอยากแนะนำว่า การปฏิบัติแบบรอบด้านหรือการปฏิบัติที่สมบูรณ์ ก็คือการปฏิบัติที่จะต้องประกอบไปด้วยมิติทั้งสองนี้นี่เอง

อาตมาใคร่ขออธิบายถึงการปฏิบัติในสองลักษณะนี้ว่าหมายถึงอะไร การปฏิบัติในแนวกว้างคือ การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติรู้สึกสงบและมองเห็นสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ส่วนการปฏิบัติในแนวลึก คือ การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติมองเห็นได้ดิ่งลึกลงไปในสัจธรรมของสรรพสิ่ง และการได้เห็นสิ่งต่างๆ แตกต่างไปจากเดิมก็จะช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้ปฏิบัติที่มีต่อโลกไปด้วย

โดยปกติแล้ว การปฏิบัติในแนวลึกมักเป็นหนทางสำหรับฆราวาสในการฝึกใช้ชีวิตด้วยสติ มีทัศนคติที่เป็นบวกกับปัจจุบัน ใช้ชีวิตกับปัจจุบัน มีทัศนคติโดยรวมเป็นบวกและมีสติกับสถานการณ์ทั้งหลายที่พวกเขาต้องประสบ สำหรับพระสงฆ์เองอาจได้พบเจอกับช่วงเวลาที่ทำให้ต้องปฏิบัติในแนวลึกได้เช่นกัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เราต้องเผชิญกับสถานการณ์หลากหลายรูปแบบที่เราต้องพยายามอดทนผ่านพ้นไปให้ได้ 

จิตที่เข้มแข็งจะเกิดขึ้นได้จากสิ่งนี้ ทั้งจากความสามารถในการพาตนเองผ่านสถานการณ์ต่างๆ ต่อสู้กับสิ่งที่มากระทบ และความสามารถในการถอยออกจากสภาวะจิตใจของตนเอง นั่นคือ การที่เราสามารถควบคุมจิตของเราเองได้ ในบางสถานการณ์ที่อาจทำให้จิตของเราวุ่นวายผิดปกติ จนอยากออกไปจากสถานการณ์นั้นๆ แต่เรายังสามารถยับยั้งจิตใจให้แจ่มชัดอยู่ได้โดยไม่ขุ่นหมอง 

การเฝ้าสังเกตุ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการเฝ้ามองเหตุการณ์อยู่อย่างนั้น เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และจำเป็นในการฝึกปฏิบัติให้ได้ท่ามกลางสถานการณ์ต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การไม่แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสถานการณ์นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการไม่สนองตอบ นั่นคือ การอยู่ในภาวะนิ่งเฉย เฝ้าดูเหตุการณ์โดยไม่แสดงปฏิกิริยาใดๆ บางทีเราอาจไม่มีตัวช่วยคอยบอกว่าเราควรทำอะไรต่อ เราต้องอาศัยการปฏิบัติในมิติที่ลึกซึ้งขึ้นอีกหน่อย เพื่อให้จิตของเราได้มองเห็นการเคลื่อนไหวของสรรพสิ่ง เมื่อนั้นก็จะเกิดปัญญาที่จะชี้นำเราว่าต้องทำอะไร ชี้นำว่าชีวิตจะดำเนินไปด้วยอุบายเช่นไร

บางครั้งการปฏิบัติในแนวลึกนี้อาจมีมิติที่ลึกซึ้งมาก จนสามารถเปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อโลกไปได้โดยสิ้นเชิง เมื่อปฏิบัติในแนวกว้าง เราอาจยอมรับสัจธรรมความเป็นไปของสรรพสิ่งได้ โดยที่เราเองก็ยังไม่เคยได้ประสบพบเจอกับสิ่งนั้น แต่สำหรับผู้ที่สามารถปฏิบัติในแนวลึกและได้เข้าใจสัจธรรมของสรรพสิ่งแล้วนั้น พวกเขาจะยอมรับความเป็นไปของชีวิตได้ง่ายขึ้น เพราะทุกสิ่งที่เกิดล้วนเป็นสิ่งดีทั้งสิ้น ความเป็นไปของสิ่งรอบตัวเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะช่วยปลดปล่อยจิตให้เป็นอิสระ เราอาจพบความสุขมากมายเพียงแค่เราเข้าใจความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้น

ถ้าเราไม่พยายามฝึกปฏิบัติให้ลึกเพื่อเข้าใจสัจธรรมของสิ่งต่างๆ สัจธรรมของชีวิต และสัจธรรมของสถานการณ์ในการเป็นมนุษย์ให้ลึกซึ้งขึ้น ก็ถือว่าเราพลาดโอกาส เรามักจะมีโอกาสได้ปฏิบัติในลักษณะนี้ทั้งในเวลาที่เราตั้งจิตฝึกสมาธิกรรมฐานอย่างแน่วแน่หรือแค่ตอนพักจากงานประจำเพื่อฝึกสมาธิสั้นๆ และเราก็สามารถแยกฝึกปฏิบัติจากการปฏิบัติในแบบแรกได้ นั่นคือ เราอาจใช้ชีวิตในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ดี ยอมรับผู้คนรอบข้างและตั้งใจทำหน้าที่ของเราเพื่อประโยชน์ของทุกคน เมื่อมีโอกาสได้พักเพื่อฝึกสมาธิ เราจึงอาจลองปฏิบัติให้ลึกซึ้งเพื่อมองสิ่งต่างๆ ในมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม และเพื่อค้นพบบ่อเกิดของความสุขที่แตกต่างของชีวิต นี่อาจเป็นส่วนสำคัญของชีวิตในวิถีแห่งธรรม ซึ่งก็คือ การค้นหาเหตุแห่งความสุขในความสุขเอง ซึ่งจะทำให้เราก้าวเดินต่อไปได้ การเจริญสมาธิและการหยั่งรู้ตนเองเป็นสิ่งประเสริฐที่เราจะได้จากการฝึกปฏิบัติในแนวลึกนี้

บางทีก็น่าจะดีถ้าเราได้พิจารณาด้วยตัวเองว่าเราอยู่ในสภาวะอะไร บุคลิกของเราเป็นอย่างไร เราเหมาะกับอะไร และจะใช้สภาวะในขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร เราอาจจะเลือกคิดว่า “เราอยู่ในสภาวะที่เงียบสงบแบบนี้ น่าจะใช้ให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติให้ลึกขึ้นอีกนิด” หรือจะคิดว่า “สภาวะที่เป็นอยู่นี้ลำบากมากแต่เราก็ใช้มันให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติให้กว้างขึ้น ฝึกจิตให้นิ่งและไม่ตอบโต้กับสิ่งต่างๆ ได้”

ด้วยกิจของสงฆ์ ทำให้เราต้องย้ายจากวัดหนึ่งไปจำวัดที่วัดอีกแห่งหนึ่งอยู่เรื่อยๆ อาตมามักจะคิดถึงเรื่องนี้เสมอ เราอาจจำวัดอยู่ที่วัดสักแห่งหนึ่งที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติแนวลึก มีเวลาอยู่กับตัวเองมาก เงียบสงบ เป็นวัดที่รักษาศีลได้เคร่งครัด ทุกอย่างเอื้อต่อการปฏิบัติ เมื่อเราต้องไปจำวัดที่วัดอื่น ซึ่งมีกิจมาก มีกิจกรรมมากมายเกิดขึ้นอยู่ตลอด มีคนมากมายในวัดที่ไม่เข้าใจว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ หรือเวลาที่เราต้องออกไปเทศนาธรรมต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นโอกาสที่เราจะได้ลองปฏิบัติในแนวกว้างได้เช่นกัน

อาตมาคิดว่า คนเราควรจะหัดฝึกความเข้มแข็งมากกว่าที่จะหัดรับมือกับความอ่อนแอ ถือเป็นหลักการที่ใช้ได้กับทุกเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะให้เราฝึกความเข้มแข็งเป็นหลัก สำหรับคนที่ฝึกปฏิบัติได้ลึกแล้ว ก็ควรฝึกความเข้มแข็งเป็นหลัก สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มสังคมโดยรวม เพราะเราสามารถแบ่งปันความหยั่งรู้ที่เราได้พบให้กับผู้อื่น ในเรื่องสัจธรรมของความชัดแจ้ง สัจธรรมของสภาวะความเป็นมนุษย์ สภาวะการดำรงอยู่ของตัวเรา สถานะการอาศัยอยู่ในโลกของมนุษย์ที่นอกเหนือไปจากรูปลักษณ์ภายนอก คนแบบนี้เป็นคนที่มีค่ามากต่อการได้อยู่ร่วมสังคมด้วย บุคคลที่มีความสามารถแท้จริงเหล่านี้เป็นคนที่ควรค่าให้เราส่งเสริมและสนับสนุน

ขณะเดียวกันก็มีพระสงฆ์บางรูปที่ปลีกตัวเองอยู่เงียบๆ ในกุฏิเพื่อต้องการอยู่ห่างจากทุกสิ่ง ท่านเหล่านี้อาจไม่ได้ใช้โอกาสที่มีในการพัฒนาตัวเองเลย ตรงกันข้ามกลับเป็นการหนีจากทุกอย่าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก แต่ถึงอย่างนั้น ผู้ที่เริ่มต้นแบบนี้ก็อาจเกิดผลดีได้ เพราะพวกเขาจะพบว่าเขาต้องปฏิบัติเพราะสิ่งที่พวกเขาพยายามจะหนีได้ตามเขากลับมาที่กุฏิด้วยทั้งหมด

การมีสมาชิกในกลุ่มที่มีจุดแข็งหลากหลายเป็นสิ่งที่มีค่ามาก พระสงฆ์ที่ปฏิบัติได้กว้าง ได้ประสบพบเห็นและข้ามผ่านสถานการณ์ที่หลากหลายมาได้มักจะทำหน้าที่เป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า ส่วนพระสงฆ์ซึ่งปฏิบัติได้ลึกก็จะรับหน้าที่ในการเทศนาสนทนาธรรม นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับวัดที่มีการจัดวางระบบทางธรรมที่ดี เป็นที่ที่เราได้เรียนรู้จากกันและกัน และได้ปกป้องกันและกัน 

ผู้ที่เข้ากับผู้อื่นได้ง่ายมักจะเป็นคนที่ปฏิบัติได้กว้าง ขณะเดียวกันผู้ที่ดูเป็นคนเงียบๆ ก็มักเป็นคนที่ปฏิบัติได้ลึก เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาทั้งสองกลุ่มจึงควรต้องแบ่งปันกันในสิ่งที่ตนเองรู้เกี่ยวกับสัจธรรมของจิต หรือสัจธรรมของความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันนั่นเอง







อาตมาขอเสนอธรรมะนี้เพื่อการเรียนรู้และพิจารณา

อาจารย์กัลยาโณ
​

​
ติดตามคำสอนเพิ่มเติมที่แปลเป็นไทยแล้วได้ที่นี่:

www.openthesky.co.uk/thai
​

Comments are closed.

    พระอาจารย์กัลยาโณ
    พระเถระในสายหลวงพ่อชา สุภัทโท และเป็นเจ้าอาวาสของวัด
    โลกุตตรวิหาร ในประเทศนอร์เวย์​ ก่อนบรรพชา ท่านเป็นชาวพุทธที่ฝึกปฎิบัติ
    ตั้งแต่อายุ 17 ปี  เส้นทาง
    การปฎิบัติและความสนใจของท่าน ได้นำท่านให้ทำงานในโรงพยาบาลมาเกือบยี่สิบปี


    Categories

    All
    จาก"สายธารแห่งธรรม"
    วีดีโอ
    บทความ "ช่วงเวลาวิกฤต"
    งานศิลปะ
    ธรรมปรารภ
    ธรรมปรารภ
    ชีวิตส่วนตัว
    โพสการ์ดธรรมะ

Powered by Create your own unique website with customizable templates.
  • Home
  • Artwork
  • Poetry & prose
  • Contemplative photography
  • Video
  • Articles
  • Dhamma books
  • Talks
  • Library
  • Other languages
    • บทความภาษาไทย
    • Norsk
    • Italian (Link)